บัตรแสดงข้อมูล
สามารถใช้บัตรค้นหาข้อมูลในกล่องวัฒนธรรมเกาหลีได้
สามารถใช้บัตรค้นหาข้อมูลในกล่องวัฒนธรรมเกาหลีได้
โต๊ะเขียนหนังสือที่ใช้นั่งอ่านหรือเขียนหนังสือ โดยปกติจะวางไว้ในห้องซารางบังและใช้อ่านหนังสือ เมื่อมีแขกมาเยือนจะแสดงตำแหน่งของเจ้าของบ้านโดยการวางเป็นเครื่องเรือนไว้กลางห้องซารางบัง
อุปกรณ์ 4 ชนิดที่ใช้ในการเขียน ได้แก่ กระดาษสา, พู่กัน, หมึก, จานหินฝนหมึก เรียกว่า 'มุนบังซาอู' (สิ่งล้ำค่าทั้งสี่แห่งการศึกษา) โดยเปรียบเปรยเหมือนเป็นเพื่อนสนิท
เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ใช้แขวนพู่กันให้แห้งและใช้เก็บรักษาพู่กัน แท่นแขวนพู่กันจะมีตะขอติดไว้หลายอันสำหรับแขวนพู่กัน
ใช้เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างด้วยการปักเทียนและจุดไฟ โดยส่วนใหญ่จะทำมาจากไม้หรือโลหะ เชิงเทียนจะมีทักปักเทียนสั้นๆ มีถาดรองน้ำตาเทียนและยังติด 'ฮวาซอน' ซึ่งมีไว้ สำหรับปรับแสงสว่างของเทียนให้เหมาะสมและใช้กำบังลมอีกด้วย
ภาพเหมือน ลีซอกู ข้าราชการพลเรือนที่ติดผ้าปักหน้าอกลายนกกระเรียน - จัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ฮยูงแบเป็นเครื่องประดับที่ติดไว้ที่หน้าอกและหลังของเสื้อผ้าที่ราชวงศ์และเหล่าข้าราชการ ในสมัยโชซอนสวมใส่ โดยส่วนใหญ่จะปักลายนกกระเรียนและเสือ ซึ่งลายจะแตกต่างกันไป ตามสถานภาพของแต่ละบุคคล เช่น ข้าราชการพลเรือนที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการจะใช้ลายนกกระเรียน ส่วนข้าราชการทหารที่รับผิดชอบด้านการทหารจะใช้ลายเสือ
ภาพเหมือน คิมเจดอก ใส่ชองจากวาน (หมวกของข้าราชการ)
หมวกที่ชนชั้นผู้นำทางสังคมในสมัยโชซอนที่เรียกว่า'ซาแดบู' (ข้าราชการชั้นสูง) ใช้ใส่ภายในบ้าน สร้างขึ้นซ้อนทับกัน 2 หรือ 3 ชั้นให้เป็นรูปร่างของ 'ภูเขา' ยิ่งมีจำนวนชั้นมาก ยิ่งทำให้ มีรูปทรงที่ทับซ้อนกันอย่างเป็นธรรมชาติทำให้ได้เส้นโค้งที่ไหลลื่นและงดงาม
เครื่องเป่าดั้งเดิมของเกาหลีประกอบด้วย ขลุ่ยแทกึม, ขลุ่ยดันโซ, ขลุ่ยฮยางพีรี, ปี่แทพยองโซ เป็นต้น ขลุ่ยแทกึมเป็นเครื่องดนตรี ที่มีเสียงใสและช่วงเสียงกว้าง จึงใช้เป็นเสียงหลักในการประสานเสียงกับเครื่องดนตรีอื่น
การยิงธนู (คิมฮงโด) - จัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
การยิงธนูเป็นหนึ่งในวิชาการสอบเข้าเพื่อเป็นข้าราชการทหาร แต่เหล่าชอนบี (นักปราชญ์) ก็ใช้การยิงธนูในการฝึกพละกำลังและฝึกสมาธิด้วยเช่นกัน
ซูคเยโดกวอน (ยูซุก)
เป็นภาพวาดทางวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วยเหล่าชอนบี (นักปราชญ์) ซึ่งเป็นปัญญาชนของสังคมดั้งเดิมเกาหลีรวมตัวกันประพันธ์บทกลอนและเพลิดเพลินไปกับศิลปะ เราสามารถ เห็นเหล่าชอนบีที่สวมคัด (หมวกปีกกว้าง) และใส่โทโพ (เสื่อคลุมแขนยาว) เข้าร่วมการประพันธ์ บทกลอนหรือการเขียนบทความ บุหรี่ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสังคมอีกด้วย
พยองพุงเป็นฉากกั้นที่ใช้บังลมหรือใช้กำบังบางสิ่งโดยเป็นของตกแต่งที่จัดวางไว้ภายในห้อง ฮวาโจโด พยองพุง (ฉากกั้นห้องลายธรรมชาติ) เป็นฉากกั้นที่วาดลายดอกไม้และนก โดยทั่วไปใช้ตกแต่งภายในห้องอันบัง (ห้องนอนเจ้าของบ้าน) ในบรรดาดอกไม้นั้น ดอกโบตั๋นเปรียบเสมือนเป็นราชาแห่งดอกไม้และเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งเกียรติยศและชื่อเสียง
เครื่องเรือนขนาดเล็กพร้อมกระจกที่ผู้หญิงใช้ในการแต่งตัว มีกระจกติดอยู่ด้านในของส่วนบนสุดและด้านล่าง มีลิ้นชักที่สามารถใส่เครื่องสำอางหรือเครื่องประดับได้ ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือการออกแบบให้มีความลาดชันเหมาะสำหรับใช้กับท่านั่งบนพื้น
กล่องเครื่องมือที่รวบรวมสิ่งจำเป็นในการเย็บผ้า เช่น เข็ม, ด้าย, ปลอกสวมนิ้ว และอื่นๆ โดย ทำมากจากหลากหลายรูปแบบและหลากหลายวัสดุ เช่น กระดาษหรือไม้ *สิ่งจำเป็นในการเย็บผ้าเช่น ด้าย, เข็ม, กรรไกร, ด้ามเหล็กรีดผ้า, ไม้บรรทัด, ปลอกสวมนิ้ว, เตารีด เปรียบเสมือนเป็นสหายทั้งเจ็ดของการเย็บผ้าจึงเรียกว่า คยูชุงชิลอู (เครื่องมือทั้งเจ็ดที่หญิงในอดีตใช้ในการเย็บผ้า)
ชั้นวางของที่ตั้งอยู่ที่ห้องซารางบัง (ห้องรับรองแขก) หรือห้องอันบัง (ห้องนอนเจ้าของบ้าน) โดยจะวาง หนังสือหรือแจกันดอกไม้ไว้ด้านบนและเป็นชั้นวางของที่เปิดออกรอบทิศจึงเรียกว่า ซาบังทักจา โดยซาบังทักจา จะมีความกว้างแนวนอนและแนวตั้งที่เท่ากันทุกด้าน จึงให้ความรู้สึกของความเป็นสัดส่วนที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์
กระถางที่เก็บถ่านและรักษาเชื้อไฟที่ยังคุอยู่ กระถางเตาถูกนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น อุ่นอาหารในห้อง หรือทำความร้อนให้ด้ามเหล็กรีดผ้าเมื่อต้องการรีดผ้า คนสมัยก่อนคิดว่าจะต้องมีไฟที่ยังคุอยู่ในบ้านเพื่อไม่ให้มี พลังงานร้ายเข้ามา ดังนั้นผู้หญิงจึงหมั่นดูแลไม่ให้เชื้อไฟในกระถางเตาดับลง
ข้อมูลจากคอนเทนต์วัฒนธรรมดอทคอม สถาบันส่งเสริมคอนเทนต์เกาหลี
เครื่องประดับตกแต่งผมแบบเกาหลีดั้งเดิม ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ในการป้องกันไม่ให้มวยผมคลายและเป็นเครื่องประดับ เครื่องประดับผมอย่างทวีโกชี (ปิ่นปักผมด้านหลัง) จะคอยยึดมวยผมเอาไว
ภาพการตกแต่งผมด้วยริบบิ้นผูกผมอัพแทงกี (ซ้าย) โดทูรักแทงกี (ขวา)
ชกดูรีเป็นหมวกประดับที่เจ้าสาวสวมระหว่างพิธีแต่งงาน หลังจากเจ้าสาวใส่ชกดูรีจะติดอัพแทงกี (ริบบิ้นผูกผม) และโดทูรัคแทงกี (แถบผ้ายาว) ที่ปิ่นปักผมขนาดใหญ่เพื่อประดับผม อัพแทงกีทั้งสองข้างจะอยู่ที่ปิ่นของเจ้าสาวในความยาวที่เหมาะสมแล้วจึงวางลงบนไหล่ทั้งสอง ส่วนโดทูรัคแทงกีจะเป็นเครื่องประดับที่พาดยาวลงมาจากด้านหลังศีรษะ
เป็นพัดทรงกลมที่ใช้ปกปิดใบหน้าเจ้าสาวในพิธีแต่งงานแบบดั้งเดิม ดอกโบตั๋นที่ปักอยู่บนพัดมีความหมายถึงการภาวนาให้มีแต่ความร่ำรวย เจริญรุ่งเรือง และมีอายุยืนยาว
เนื่องจากชุดฮันบก (ชุดประจำชาติเกาหลี)ไม่มีกระเป๋าจึงมีการทำกระเป๋าใส่ของแยกออกมา โดยที่กระเป๋าผ้าจะมีการปักลวดลายที่สวยงามเพื่อปัดเป่าเคราะห์ร้ายและภาวนาให้มีความสุข กระเป๋าผ้าทรงกลมจะเรียกว่า ‘ทูรูจูมอนี’ และกระเป๋าผ้า ทรงสี่เหลี่ยมจะเรียกว่า ‘ควีจูมอนี’
เครื่องประดับร่างกายของสตรีซึ่งใช้เป็นแขวนที่ชอโกรีโครึม (โบว์เสื้อฮันบก) หรือใช้ห้อยที่เอวกระโปรง มีหลากหลายรูปร่าง และทำมาจากหลากหลายวัสดุ เช่น ทอง, เงิน, หยก, อำพัน ‘ทันจักโนรีแก’ จะมีพู่ประดับหนึ่งเส้นและเพชรพลอยหนึ่งเม็ด ส่วน ‘ซัมจักโนรีแก’ จะมีพู่ประดับสามเส้น พานึลจิบโนรีแก (กระเป๋าเก็บเข็มเย็บผ้า) สามารถใช้เก็บเข็มได้จริงและยังเป็นเครื่องประดับได้อีกด้วย
ผ้าห่อของที่นำเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้วหลากหลายสีสันมาเย็บต่อกันเพื่อนำไปห่อสิ่งของเล็กๆ ผ้าห่อของใช้ห่อของ เพื่อเก็บรักษาหรือใช้ในการขนส่งจึงนำผ้ามาต่อเป็นทรงสี่เหลี่ยม
อินดู (ด้ามเหล็กรีดผ้า) เป็นเตารีดชนิดหนึ่งใช้สำหรับรีดรอยยับของเนื้อผ้า เช่น ตะเข็บและมุมของ เสื้อผ้าให้เรียบ ส่วนอินดูพัน (แผ่นไม้รองรีดผ้า) เป็นอุปกรณ์ที่ไว้รองเวลารีดผ้า แผ่นกระดานจะทำมากจากสำลีห่อด้วยผืนผ้า
หมวกที่เด็กผู้ชายใส่ในวันขึ้นปีใหม่ของเกาหลีหรือวันเกิดขวบปีแรก หมวกจะมีรูปร่างคล้ายเสือเนื่องจากเชื่อว่าพลังของเสือที่น่าเกรงขามจะสามารถป้องกันลางร้ายหรือปีศาจไม่ให้เข้าใกล้เด็กๆ และเป็นการขอให้มีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว
หมวกที่เด็กผู้หญิงนิยมใส่และมีริบบิ้นติดอยู่หลายเส้น ปัจจุบันนี้โดยปกติแล้วเด็กผู้หญิงมักจะใส่ในงานเลี้ยงวันเกิดครบหนึ่งขวบหรือในงานเทศกาล จะใส่ร่วมกับ แซกดงชอโกรี (เสื้อคลุมที่มีแขนเสื้อหลากสี) และกระโปรงสีแดงสด
ชุดฮันบก (ชุดประจำชาติเกาหลี) ของผู้ชายประกอบด้วยชอโกรี (เสื้อคลุม) และกางเกง บางครั้งจะใส่แพจา (เสื้อกั๊กบุสำลี) ไว้บนเสื้อคลุม
ชุดฮันบก (ชุดประจำชาติเกาหลี) ของผู้หญิงโดยทั่วไปมักสวมใส่ชอโกรี (เสื้อคลุม) และกระโปรง บางครั้งจะใส่แพจา (เสื้อกั๊กบุสำลี) ไว้บนเสื้อคลุมและเพิ่มเครื่องประดับอย่างโนรีแก (เชือกถักประดับ) เข้าไป
ส่วนหนึ่งของซูคเยโดกวอน (ยูซุก)
เป็นหมวกที่ผู้ชายในสมัยโชซอนใส่ตอนออกไปนอกบ้าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘ฮึกริบ’ หมวกนี้จะสามารถใส่ได้เฉพาะชายที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
เด็กสวมหมวกพกกอน (เอลิซาเบธ คีธ)
หมวกสำหรับผู้นับถือลัทธิขงจื๊อในสมัยโชซอน ปัจจุบันนี้เด็กผู้ชายมักจะใส่ในงานเทศกาลต่างๆ หรือวัน ครบรอบวันเกิดขวบปีแรกของพวกเขา
ชื่นชมภาพวาด (คิมฮงโด) - จัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
หมวกสำหรับผู้นับถือลัทธิขงจื๊อในสมัยโชซอนใช้ภายในอาคาร สำนักวิชาสมัยโบราณหรือสำนักสอนภาษา เมื่อใส่หมวกนี้ผมจะถูกรวบไปทางด้านหลังอย่างเป็นธรรมชาติ
ผู้ชายสวมคัลโม (พอล ชากูเลต์)
หมวกที่ใช้ปกคลุมคัด (หมวกปีกกว้าง) เมื่อฝนหรือหิมะตก หมวกทำจากฮันจี (กระดาษสาทำจากพืชของเกาหลี) ด้านบนของหมวกจะทาน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันงาม่อน หลายๆครั้งเพื่อกันไม่ให้เปียกฝน ออกแบบมาให้พับเก็บง่ายจึงสะดวกต่อการพกพา
โชบาวีเป็นหมวกที่ผู้หญิงใช้ใส่กันความหนาว มีลักษณะเป็นทรงกลมเพื่อห่อหุ้มรอบใบหน้า เด็กผู้หญิงมักใส่ในงานเลี้ยงวันเกิดครบหนึ่งขวบโดยใส่แซกดงชอโกรี (เสื้อคลุมที่มีแขนเสื้อหลากสี) และกระโปรงสีแดงสดพร้อมทั้งใส่โชบาวี
นัมบาวีเป็นหมวกที่ทั้งชายและหญิงใช้ใส่กันความหนาว ด้านบนหมวกเปิดโล่งและด้านหลังมีผ้าปกคลุม ส่วนด้านในบุสำลีหรือขนสัตว์ ภายนอกตกแต่งด้วยผ้าไหมสีเขียวและผูกปม
ริบบิ้นที่ทำมาจากเงินและมีรูปทรงแบบเม็ดสาลี่ ตกแต่งด้วยอัญมณี 7 ประการ (ทอง, เงิน, ไพฑูรย์, แก้ว, ปะการังสีทับทิม, โมรา, ไข่มุก) โดยจะห้อยให้กับเด็กผู้หญิงที่ไม่ค่อยมีเส้นผมหรืองอกอย่างไม่สมบูรณ์
เสื้อคลุมชั้นนอกที่ซอนบี (นักปราชญ์) ใส่ในสมัยโชซอน ปกเสื้อตรง แขนเสื้อมีความกว้าง และมีลักษณะพิเศษคือด้านหลังของชุดมีชายเสื้อติดอยู่อีกหนึ่งชั้น
เป็นเสื้อที่ผู้ชายสวมใส่เมื่อออกไปข้างนอก ซึ่งต่างจากโทโพ (เสื้อคลุมแขนยาว) ตรงที่ด้านข้างทั้งสองเปิดโล่ง ทำให้สะดวกต่อการทำกิจกรรมและมีแขนเสื้อที่กว้างจึงเป็นชุดที่นิยมใส่กันอย่างกว้างขวาง
เป็นเสื้อคลุมที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสวมใส่เมื่อออกไปข้างนอก ชื่อเรียก ทูรูมากี มาจากสามารถป้องกันได้ทั้งสี่ทิศทางอย่างทั่วถึง
สิ่งที่ผู้หญิงใช้ใส่เมื่อออกไปข้างนอก หากผู้หญิงแสดงใบหน้าของพวกเธอต่อผู้ชายที่ไม่ใช่ครอบครัวจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพ ดังนั้นจึงต้องใช้กระโปรงคลุมเพื่อปิดบังใบหน้าเมื่อออกจากบ้าน
เมื่อใส่ชุดฮันบก (ชุดประจำชาติเกาหลี) ควรหารองเท้าที่เข้ากับชุด ซึ่งผู้หญิงจะใส่รองเท้าอุนเฮที่เรียกว่า 'กดชิน' (รองเท้าลายดอกไม้) ส่วนผู้ชายก็จะใส่รองเท้าสุภาพอย่างแทซาเฮ (รองเท้าผู้ชายทำจากผ้าหรือหนังสัตว์)
พระบรมรูปพระเจ้าเซจงมหาราช ที่ประตูควางฮวามุน กรุงโซล
ฮันกึลเป็นตัวอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งชาวเกาหลีใช้ในปัจจุบัน พระเจ้าเซจงมหาราชสร้างฮันกึลโดยแบ่งเป็นการสร้างจากอวัยวะของการออกเสียง (ปาก, ลิ้น, ภายในช่องปาก, ช่องคอ) และจำลองจากรูปร่างของท้องฟ้า, ผืนดิน และคน แบ่งออกเป็นพยัญชนะ 17 ตัวและสระ 11 ตัว พระเจ้าเซจงมหาราชได้สร้างหนังสือชื่อ'ฮุนมินจองอึม' ที่สอนการออกเสียงที่ถูกต้องให้แก่ ราษฎร หลังจากบันทึกทฤษฎีการประดิษฐ์และภูมิหลังทางวิชาการแล้วต่อมาจึงได้มีการประกาศเผยแพร่หนังสือ <ฮุนมินจองอึม>
ธงชาติแทกึกกี เป็นธงประจำชาติสาธารณรัฐเกาหลี โดยมี พื้นหลังเป็นสีขาวและใส่สัญลักษณ์แทกึกไว้ตรงกลาง มุมทั้งสี่ของธงมีการจัดวางสัญลักษณ์ทั้งสี่ของคอนโกนคัมรีเอาไว้ โดยพื้นหลังสีขาวหมายถึงความสว่าง, บริสุทธิ์และความสงบ ลวดลายของแทกึกหมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหยินและหยาง 'คอน', 'โกน', 'คัม', 'รี' ที่อยู่ทั้งสี่มุมแทนสัญลักษณ์ของท้องฟ้า, ผืนดิน, น้ำและไฟ
연상은 상부에 벼루집이 있고, 그 아래 선반이나 서랍을 만들어 벼루와 붓등 필기구를 보관하는 가구이다
사모를 쓴 권협 초상
관리들이 관복을 입을때 함께 착용했던 모자로 혼례때에는 서민들도 착용이 허락되었다.
혼례를 할때 신랑이 신부집에 나무기러기를 전달했다. 사이가 좋은 암수 기러기처럼 평생 동안 금술 좋게 살겠다는 뜻을 상징한다.
부채는 손으로 부쳐 바람을 일으키는 도구이다. 그중 접선은 부챗살과 부채 가장자리의 갓대를 결합하여 접었다 펼 수 있는 휴대가 간편한 쥘부채이다.
여속도첩 (신윤복) | 국립중앙박물관 소장
담배를 피우는데 쓰는 도구로 설대가 긴것은 장죽, 없거나 짧은것은 곰방대라 부른다.
기해 기사계첩-기사사연도 중 일부 | 국립중앙박물관 소장
백자는 자기의 한 분류로 순백색의 바탕흙에 투명한 유약을 발라 구운 백색의 자기이다. 항아리는 궁중이나 일상생활에서 음식, 술, 꽃 등을 담기 위한 용도로 안전하게 보관하기 위해서 가구 위에 두고 사용했다.
돌복 입은 아이 (폴 자쿨레)
아이의 첫생일인 돌때 돌옷을 입고 허리에 돌띠를 매었다. 돌띠에는 십장생도나 덕담을 수놓아 아기가 건강하고 복되기를 기원하였다.